Vitamine
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)
   Main webboard   »   บทความน่ารู้
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ตารางแสดงปัญหาสุขภาพของผู้มีอายุ 20 - 40 ปี   (Read: 917 times - Reply: 0 comments)   
ZOOKEEPER

Posts: 0 topics
Joined: none

ตารางแสดงปัญหาสุขภาพของผู้มีอายุ 20 - 40 ปี
« Thread Started on 22/7/2553 14:38:00 IP : 117.47.179.170 »
 

   
 
ปัญหาสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ควร
รับประทาน
ขนาดรับประทาน ข้อแนะนำ
การปฏิบัติตัว
1.ปัญหาหัวใจ
ความดันโลหิตสูง น้ำมันปลา วันละ 3000 มก. คำ แนะนำ F


 
และหลอดเลือด
น้ำมันกระเทียม วันละ 2-5 มก.  


 


เลซิติน วันละ 3600 มก.  


 


โคเอนไซม์ คิวเทน วันละ 100 มก.  


ไตรกลีเซอไรด์สูง น้ำมันปลา วันละ 3000 มก. คำ แนะนำ E


 


น้ำมันกระเทียม วันละ 2-5 มก.  


 


เลซิติน วันละ 3600 มก.  


โคเลสเตอรอลสูง น้ำมันปลา วันละ 3000 มก. คำ แนะนำ E


 


น้ำมัน กระเทียม วันละ 2-5 มก.  


 


เลซิติน วันละ 3600 มก.  


โคเลสเตอรอลสูง
โคเอนไซม์ คิวเทน วันละ 100 มก. คำ แนะนำ E


 

และใช้ยากลุ่มสแตติน

 
2.ปัญหาภูมิแพ้หวัด
วิตามิน ซี วันละ 1000 -
2000 มก.
คำ แนะนำ D


 


น้ำมันกระเทียม วันละ 2-5 มก.  


 


เอ็กไคเนเชีย
 
3.ปัญหาผิวพรรณ ฝ้า สารสกัดจากเปลือกสน
มาริไทม์ ฝรั่งเศส
วันละ 80 มก. คำ แนะนำ J


ชะลอความแก่ วิตามิน อี วันละ 200 ยูนิต  


 


โคเอ็นไซม์คิวเท็น วันละ 30 - 50 มก.  


 


เบต้าแคโรทีนธรรมชาติ วันละ 15 มก.  


 


สารสกัดจากเมล็ดองุ่น วันละ 20 - 60 มก.  


ผิวขาดความชุ่มชื้น น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส วันละ 1000-3000มก. คำ แนะนำ B


 


อัลฟัลฟ่า วันละ 1000 - 1500 มก.  


 


น้ำมันปลา วันละ 3000 มก.  


ผื่นผิวหนังอักเสบ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส วันละ 1000-3000มก. คำ แนะนำ B
4.ปัญหาการนอนไม่หลับ, นอนไม่หลับ สารสกัดจากรากวาเลเรียน 445 มก.ก่อนนอน คำ แนะนำ K

อ่อนเพลีย, ความเครียด เครียด เลซิติน วันละ 2400 - 3600 มก คำ แนะนำ K


 


สารสกัดจากใบแปะก๊วย วันละ 40-80 มก.  


 


น้ำมันปลาทูน่าที่มีสารดีเอชเอสูง วันละ 1000 มก.  


 


วิตามิน บี รวม วันละ 1 แคปซูล  


อ่อนเพลีย โคเอ็นไซม์คิวเท็น วันละ 40 - 100 มก. คำ แนะนำ K


สมองไม่ปลอดโปร่ง โสมสกัดผสมวิตามิน วันละ 1 แคปซูล คำ แนะนำ K


 


วิตามิน บี รวม วันละ 1 แคปซูล  
5.ปัญหาสุขภาพสายตา บำรุงสายตา ลูทีน วันละ 6 มก. คำ แนะนำ C


 


สารสกัดจากบิลเบอรี่ วันละ 25 มก.  


 


เบต้าแคโรทีนธรรมชาติ วันละ 6-15 มก.  


 


น้ำมันปลาทูน่าที่มีสารดีเอชเอสูง วันละ 1000 มก.  


ป้องกันจอตาเสื่อม ลูทีน วันละ 6 มก. คำ แนะนำ C


 


สารสกัดจากบิลเบอรี่ วันละ 25 มก.  


 


เบต้าแคโรทีนธรรมชาติ วันละ 15 มก.  


ต้อกระจก ลูทีน วันละ 6 มก. คำ แนะนำ C


 


สารสกัดจากบิลเบอรี่ วันละ 25 มก.  


 


เบต้าแคโรทีนธรรมชาติ วันละ 6-15 มก.  
6.ปัญหาอาการก่อนรอบเดือน อาการปวดท้อง คัดหน้าอก น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส วันละ 2000-3000มก. คำ แนะนำ H

7.ป้องกันกระดูกพรุน
แคลเซียมผสมวิตามินดี วันละ 600 - 1200 มก. คำ แนะนำ G
8.ปกป้องร่างกาย
ชาเขียวสกัด วันละ 300 - 600 มก. คำ แนะนำ B


 
จากสภาพแวดล้อมเป็นพิษ
วิตามินซี วันละ 1000 มก.  


 


วิตามิน อี วันละ 200-400 ยูนิต  
9 .ต้องการบำรุงสมอง
เลซิติน วันละ 2400 - 3600 มก. คำ แนะนำ B


 


สารสกัด จากใบแปะก๊วย วันละ 40-80 มก.  


 


ดีเอชเอ วันละ 1000 มก.  


 


วิตามิน บี วันละ 1 แคปซูล  
10.ปัญหาอาการปวด,ข้ออักเสบ ข้ออักเสบ น้ำมัน ปลา วันละ 2000 - 3000 มก. คำ แนะนำ N


 


น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส วันละ 2000 - 3000 มก.  


ข้อเสื่อม กลูโคซามีน วันละ 1500 มก. คำ แนะนำ N
11.ต้องการป้องกันมะเร็ง
วิตามิน อี วันละ 400 ยูนิต คำ แนะนำ B


 


สารสกัดจากมะเขือเทศที่ให้ไลโคฟี วันละ 3 - 6 มก.  
     
    วิตามิน ซี วันละ 1000 - 2000 มก.  
     
    ชาเขียวสกัด วันละ 300 - 600 มก.  
     
    สารสกัดจากเมล็ดองุ่น วันละ 20 - 60 มก.  
12.ปัญหาเบาหวาน   กรดแอลฟ่าไลโปอิค วันละ 50-100 มก. คำ แนะนำ M


 

ข้อแนะนำในการปฎิบัติตัว

A : เคล็ดลับในการรักษาสิว

  1. หมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
  2. หลีกเลี่ยงการเช็ดหน้า หรือ นวดหน้าแรง ๆ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. พยายามอย่าเครียด
  5. ควรหลีกให้ไกลจากสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ
  6. ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ไม่น้อยกว่า 15 หรือเลือกใช้เป็น “เจลกันแดด” เพื่อป้องกันความมันของเนื้อครีม
  7. ครีมบำรุง เลือกที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน และไม่ควรมัน ไม่มีฮอร์โมนผสมในครีมบำรุง
  8. ครีมแก้แพ้ หรือ สบู่ล้างหน้าสำหรับผิวแพ้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin)
  9. กรณีเป็นสิวแล้วมีควรแกะหรือบีบสิว เพราะจำทำให้เกิดเป็นรอยด่างดำและแผลเป็น
  10. ควรเลือกรับประทานแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยแก้ปัญหาสิว เพื่อปรนนิบัติดูแลผิวจากภายใน
  11. งดอาหารที่ทำให้เกิดสิวง่าย เช่น อาหารมัน อาหารรสจัด ทุเรียน ขนมหวาน ไอศครีม

B : เพื่อต่อต้านความเสื่อม

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ
  3. ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  4. หลีกเลี่ยงการบริโภคสารที่มีอันตราย เช่น อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง

C : เพื่อการบำรุงสายตา

  1. หลีกเลี่ยงแสงจ้าจากรังสี ยูวี และควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้ง เมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง
  2. ถ้าทำงานกับคอมพิวเตอร์ ควรนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 ฟุต
  3. ควรติดตั้งแผ่นกรองแสง หน้าจอคอมพิวเตอร์
  4. ควรพักการใช้สายตาในการทำงานทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
  5. เลิกสูบบุหรี่
  6. เมื่อต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรบริหารสายตา โดยมองไปที่ไกล ๆ เป็นระยะหรือมองต้นไม้ใบหญ้าที่มีสีเขียว
  7. เลือกรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีประโยชน์ต่อสายตา เช่น ผักใบเขียว ผลไม้หลายชนิด

D : เพื่อป้องกันภูมิแพ้ หรือโรคหวัด

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน
  3. รับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค
  4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้มีอาการแพ้

E : สำหรับภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง

  1. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  2. ผู้ที่สูบบุหรี่ ควรลดหรืองดสูบบุหรี่
  3. ควรลดน้ำหนัก เพื่อช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล
  4. ควรงดหรือลดอาหารที่มีไขมันสัตว์ เช่น ขาหมู น้ำมันปาล์ม ไขมันจากสัตว์ต่าง ๆ

F : สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง

  1. ควรลดหรืองดสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่ จะทำให้ผนังเส้นเลือดถูกทำลาย ส่งผลต่อภาวะความดันโลหิตสูง
  2. ควรลดหรืองดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดความดันได้ค่อนข้างชัดเจน
  4. ควรลดน้ำหนัก ถ้าท่านมีน้ำหนักตัวเกิน
  5. ควรลดอาหารที่มีรสเค็ม เพราะจะส่งผลให้มีภาวะความดันโลหิตสูง
  6. ควรทำจิตใจให้แจ่มใสหรือทำสมาธิ เพราะการควบคุมอารมณ์ที่ดี จะส่งผลให้มีความดันโลหิตในระดับปกติ

G : ป้องกันภาวะกระดูกพรุน

  1. ควรวางแผนลดน้ำหนัก สำหรับท่านที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเกิน
  2. ควรงดสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินในบุหรี่ จะเพิ่มการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก
  3. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. ไม่ควรทานโปรตีนในปริมาณสูง

H : สำหรับผู้ที่มีอาการไม่สบายตัวก่อนมีประจำเดือน

  1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการไม่สบายตัวก่อนมีประจำเดือนได้
  2. การพักผ่อนมากขึ้นในช่วงมีอาการ จะช่วยลดอาการต่าง ๆ ได้
  3. ควรลดหรืองดอาหารมัน เค็ม กาแฟ แอลกอฮอล์
  4. การทำสมาธิ ผ่อนคลาย สามารถช่วยลดอาการไม่สบายตัวก่อนมีประจำเดือนได้

I : การปฏิบัติตัวเพิ่มเติมเพื่อช่วยลดอาการก่อนช่วงประจำเดือนของสตรีวัยทอง

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  2. ควรสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย
  3. อาจเตรียม ICEPACK (กระเป๋าน้ำแข็ง) ไว้ข้างเตียง เพื่อลดอาการปวดบริเวณต่าง ๆ ในเวลากลางคืน
  4. ควรดื่มน้ำ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  5. ควรงดหรือลดการสูบบุหรี่

J : สำหรับผู้ที่มีปัญหาฝ้า

  1. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยใช้ร่ม สวมหมวก ใส่แว่นกันแดด
  2. ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 25 เป็นประจำทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันและแก้ปัญหาที่ช่วยปรับสมดุลภายในร่างกาย ช่วยให้เซลล์ผิวมีความแข็งแรงขึ้น

K : เพื่อป้องกันความเครียดจากการทำงาน/นอนไม่หลับ

  1. การออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้ระบายออกถึงแรงขับของจิตใจในด้านต่าง ๆ
  2. พูดระบายความเครียดโดยเลือกบุคคลที่วางใจได้
  3. รับประทานวิตามินคลายเครียด เช่นกลุ่มวิตามิน บี ต่างๆ
  4. ยอมรับสภาพความเป็นจริง เพื่อให้เข้าใจและแก้ไขปัญหาได้ง่าย
  5. มีอารมณ์ขันมองโลกในแง่ดี

L : คำแนะนำเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า

  1. การใช้กลิ่นบำบัด (Aromatherapy) เช่น น้ำมันหอมระเหยต่างๆ ร่วมกับการแช่น้ำอุ่น
  2. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการนั่งหรือนอนในท่าที่สบาย จากนั้นค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ จากปลายเท้า ข้อเท่า น่อง ต้นขา ลำตัว แขน มือ คอ ศีรษะ และใบหน้า เกร็งไว้สักอึดใจหนึ่งแล้วค่อยๆ ผ่อนคลายย้อนกลับไป
  3. ฟังดนตรีคลายความเหนื่อยล้า

M : สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคเบาหวาน

  1. พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควบคุมการรับประทานอาหารโดยเฉพาะแป้ง และน้ำตาล
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทาน เหล้า เบียร์ ไวน์ เครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์
  4. รับประทานผักให้มากๆ
  5. หมั่นดูแลรักษาเท้า และตรวจเท้าอย่างสม่ำเสมอหากมีแผลต้องรีบรักษาทันที

N : สำหรับบรรเทาอาการปวดหรือข้ออักเสบ

  1. ควรวางแผนลดน้ำหนัก
  2. ควรงดสูบบุหรี่
  3. ไม่ควรทานโปรตีนในปริมาณสูง

O : ควรเข้าฟิตเนสสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

  1. ควรทานเวย์โปรตีน 30-60 กรัมหลังฟิตเนส
  2. ควรรับประทานกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยให้ร่างกายเสริมสร้าง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   บทความน่ารู้
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 42,953 Today: 7 PageView/Month: 20

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...